เมนู

เป็นต้นเหตุดังนี้ สมณะและพราหมณ์ทั้งหลายนั้นย่อมแล่นล่วงสิ่งที่ตนรู้แล้วเอง และสิ่งที่เขา
สมมุติว่าเป็นของจริงในโลกเสีย เพราะเหตุนั้น เราผู้ตถาคตจึงกล่าวว่า ความเห็นของสมณะ
และพราหมณ์ทั้งหลายเหล่านั้นผิดเป็นมิจฉาทิฐิดังนี้ สมเด็จพระบรมศาสดาโปรดประทานไว้ใน
สังยุตตนิกายฉะนี้ มหาราช ขอถวายพระพร สมเด็จพระพิชิตมารเจ้าเผาเสียซึ่งอกุศลสิ้นไป
ไม่มีเศษ จึงได้สำเร็จพระสัพพัญญุตญาณ จะได้เสวยเวทนาเกิดแต่กรรมวิบากทั้งสิ้นนั้นหามิได้
ธาเรหิ พระองค์จงทรงพระทัยดุจนัยที่วิสัชนามานี้
สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชาเฉลิมกษัตริย์ มีพระราชโองการตรัสว่า สาธุ สาธุ สมฺ-
ปฏิจฺฉามิ
ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ตามที่พระผู้เป็นเจ้ากล่าวมานี้ดีนักหนา โยมจะรับคำของพระผู้
เป็นเจ้าจำไว้ในบัดนี้
ภควโต นิรวเสสํ อกุสลํ เฉตฺวา สพฺพญฺญุตํ ปตฺตปญฺหา
สัพพัญญุตังปัตตปัญหา คำรบ 8 จบเพียงนี้

ตถสคตัสส อุตตริกรณียาภาวปัญหา ที่ 9


ราชา

สมเด็จพระบรมกษัตริย์นรินทร์มิลินทราช มีพระราชโองการประภาษถาม
ปัญหาต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา พระผู้เป็นเจ้าจงกล่าวให้วิตถาร
ออกซึ่งคำสองประการนี้ คำหนึ่งว่า สมเด็จพระพิชิตมารมุนีกระทำซึ่งกิจทั้งปวงให้สำเร็จ
แล้วที่ควงไม้พระมหาโพธิเป็นอันเสร็จสิ้น กิจที่ต้องทำหรือต้องอบรมยิ่งขึ้นไปไม่มีแก่พระองค์อีก
คำหนึ่งว่า สมเด็จพระมุนีนาถเจ้า เมื่อได้ตรัสรู้แก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณแล้ว เข้าสู่ฌาน
สิ้นไตรมาสสามเดือนดังนี้ โยมพิเคราะห์ดูเห็นว่า ถ้าพระสัพพัญญูกระทำกิจทั้งปวงให้สำเร็จแล้ว
ที่ควงไม้มหาโพธิเป็นอันเสร็จสิ้น ไม่มีกิจที่จะต้องทำและต้องอบรมยิ่งขึ้นไปอีก คำที่ว่าพระองค์
เข้าฌานสิ้นไตรมาสสามเดือน ก็จะผิดเป็นมิจฉา ถ้าเชื่อว่าพระองค์เข้าฌานสิ้นไตรมาสสามเดือน
คำที่ว่าพระองค์กระทำกิจนั้นปวงให้สำเร็จแล้วที่ควงไม้มหาโพธิเป็นอันเสร็จสิ้น ก็จะผิด คำทั้ง
สองนั้นเป็นปฏิปักษ์แย้งกันอยู่ฉะนี้ ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา เหมือนคนหนึ่ง
ว่าคนที่พยาธิป่วยไข้ ก็จำเป็นมีความต้องการด้วยยาเพื่อรักษาโรคบำบัดให้หาย คลี่คลายไป
คนที่ไม่ป่วยไข้จะต้องการอะไรด้วยหยูกยา อนึ่ง คนที่หิวจึงต้องการรับประทานโภชนะ ของเคี้ยว
ของกัด คนที่ไหวหิวหาต้องการรับประทานโภชนาหารไม่ ยถา อันนี้อุปมาฉันใด เอวเมว โข


สมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้าก็มีอุปไมยฉันนั้น ถ้าพระองค์กระทำกิจให้เสร็จสิ้นแล้วที่ควงไม้
มหาโพธิจริง ทำไมพระองค์จึงต้องเข้าฌานอีกเล่า อยํ ปญฺโห ปริศนานี้เป็นอุภโตโกฏิ ตฺวา-
นุปฺปตฺโต
มาถึงพระผู้เป็นเจ้าแล้ว ขอพระผู้เป็นเจ้าจงวิสัชนาให้โยมฟังในกาลบัดนี้
พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ คำที่ว่าสมเด็จ
พระโลกุตตมาจารย์กระทำกิจทั้งปวงให้เสร็จสิ้นที่ควงไม้พระมหาโพธิ พระองค์ไม่มีกิจที่ต้องทำ
และต้องการอบรมอีกนั้นก็จริง คำที่ว่าพระสัพพัญญูเข้าฌานสิ้นไตรมาสสามเดือนนั้นก็จริง จะผิด
หามิได้ ก็แต่ว่าอันลักษณะฌานนี้มีคุณยิ่งวิเศษนักหนา สพฺเพ ตถาคตา สมเด็จพระบรม-
โลกนาถเจ้าแต่ก่อนทั้งหลายนั้น สพฺพญฺญูตํ ปตฺตา ครั้นได้สำเร็จพระสรรเพชญดาญาณ
แล้ว พระองค์มาทรงระลึกถึงคุณแห่งฌานนั้นว่า มีอุปการเป็นอันมากนักหนา ก็เข้าที่ชมฌาน
เกษมศานต์แสนสุข ทุกพระองค์สืบ ๆ กันมา มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรผู้มิ่งมงคล
มหิศราธิบดี เหตุฉะนี้ สมเด็จพระชินสีห์สัมพุทธเจ้าได้ตรัสแก่พระปรมาภิเษกสัมโพธิญาณ
สำเร็จที่ควงไม้พระศรีมหาโพธิปราศจากโทษทางอกุศล จึงเข้าชมฌานอยู่ถ้วนไตรมาสให้เหมือน
กัน คำอันนี้ไม่ผิด จะเปรียบให้มหาบพิตรฟัง มหาราช ขอถวายพระพร เปรียบปานดุจบุรุษ
ผู้หนึ่งได้รับพระราชทานพรอันอุดม ซึ่งสมเด็จบรมกษัตราธิราชประสาทให้ ได้ลาภสักการะ
แต่สำนักบรมกษัตริย์นั้นแล้ว อนุสฺสรนฺโต บุรุษผู้นั้นก็ระลึกถึงพระเดชพระคุณที่ประทาน
รางวัลแก่อาตมา อปราปรํ บุรุษผู้นั้นก็เข้ายังที่เฝ้านั้นเนือง ๆ ไป พระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ตรัส
แก่พระสัพพัญญุตญาณแล้ว ก็ระลึกถึงคุณอุปการแห่งฌานทั้งหลายนั้น ปฏิสลฺลินํ เสวนฺติ
พระองค์ก็ชมฌานอีกเล่าเหมือนบุรุษอันได้รับพระราชทานซึ่งรางวัลแต่สำนักบรมกษัตราธิบดี
คิดแต่ที่ว่าจะกตเวทีแทนคุณนั้น ก็หมั่นเข้าไปเฝ้าสมเด็จบรมกษัตราธิราชไม่ขาดกัน อนึ่ง
จงทรงพระสวนาการฟังอุปมาใหม่เล่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารเจ้า
เปรียบดุจบุรุษผู้หนึ่งเล่า อาตุโร ร้อนไปด้วยพยาธิโรคายายีไม่มีสุข ทุกฺขิโต เจ็บปวดนี้
เหลือกำลังนักหนา ภึสกํ อุปเสวิตฺวา คนที่เป็นโรคนั้นก็มารักษาอยู่ที่แพทย์ แพทย์ก็พยาบาล
มาจนโรคค่อยคลายหายแล้ว บุรุษผู้นั้นก็อำลามาจากเคหาแพทย์นั้น เมื่อบุรุษผู้นั้นคิดถึงคุณ
แพทย์ที่พยาบาล ก็มาสู่สถานแห่งแพทย์นั้นเนื่อง ๆ ยถา มีครุวนาฉันใด บพิตรพระราช-
สมภาร สมเด็จพระศาสดาจารย์เจ้าทั้งหลาย สพฺพญฺญุตํ ปตฺโต ได้สำเร็จแก่พระสัพพัญ-
ญุตญาณแล้ว ระลึกถึงคุณูปการแห่งฌานจึงส้องเสพซึ่งฌานไป อฏฺฐสีสติ โข คุณานิ
บพิตรพระราชสมภาร คุณแห่งฌานนี้มีถึง 28 ประการ สมเด็จพระอนาวรณญาณเจ้าทั้งหลาย
ที่ได้ตรัสมา พระองค์หักประหารผลาญกิเลส บรรลุแก่พระสรรเพชญดาญาณ แล้วทรงพระ
อนุสรณาการเห็นพระคุณ 28 ประการแห่งฌานนั้น เสวนฺติ พระองค์ก็เข้าฌานทรงเสวยสุข
เกษมศานต์ อันว่าคุณ 28 ประการนั้น กตมา เป็นดังฤๅเล่า มหาราช ขอถวายพระพร

จงทรงพระสวนาการเถิด อาตมาจะวิสัชนาให้ฟัง อตฺตานํ รกฺขติ ดูกรบพิตร เป็นที่จะ
อภิบาลรักษาอาตมานั้นประการ 1 อายุํ เทติ ให้ซึ่งทีฑายุประการ 1 พลํ เทติ จะให้มี
กำลังประการ 1 วชฺชํ ปิทหติ ปิดกั้นเสียซึ่งโทษประการ 1 อยสํ วิโนเทติ จะบรรเทาเสีย
มิให้เปล่าจากยศประการ 1 ยสมุปเนติ จะนำมาซึ่งยศประการ 1 อรตึ นาสยติ จะให้
ความไม่ยินดีฉิบหายไปประการ 1 รตึ อุปฺปาเทติ จะให้ความยินดีเกิดขึ้นประการ 1 ภยํ
อปเนติ
จะนำไปเสียซึ่งภัยประการ 1 เวสารชฺชํ กโรติ จะกระทำให้แกล้วกล้าประการ 1
โกสชฺชมปเนติ จะนำไปเสียซึ่งความเกียจคร้านประการ 1 วิริยมภิสชฺชาเนติ จะให้เกิดความ
เพียรประการ 1 ราคมปเนติ จะนำเสียซึ่งราคะประการ 1 โทสมปเนติ จะนำเสียซึ่งโทสะประการ
1 โมหํ หเนติ กำจัดเสียซึ่งโมหะประการ 1 มานํ หเนติ ฆ่าเสียซึ่งมานะประการ 1 สวิตกฺกํ
พชฺเชติ
จะกำจัดเสียซึ่งโมหะประการ 1 จิตฺเตกคฺคตํ กโรติ จะกระทำจิตเป็นเอกัคคตา
ประการ 1 จิตฺตํ เสฺนหยติ จะให้จิตรักในที่อันสงัดประการ 1 หาสํ ชนยติ จะให้บังเกิดความ
ชื่นชมประการ 1 ปีตึ อุปฺปาทยติ จะให้บังเกิดความปรีดาประการ 1 ครุกํ กโรติ จะกระทำซึ่ง
เคารพประการ 1 ลาภํ นิพฺพตฺติยติ จะให้บังเกิดลาภประการ 1 มนปิยํ กโรติ จะกระทำให้ชอบ
ใจประการ 1 ขนตึ ปาเลติ จะให้รักษาไว้ซึ่งขันตีประการ 1 สงฺขารานํ อาสวํ ธํเสติ จะกำจัด
เสียซึ่งอาสวสังขารอันข้องอยู่ประการ 1 ภาวปฏิสนฺธึ อุคฺฆาเฏติ จะมิให้บังเกิดต่อไปใน
ภพประการ 1 สนฺนํ สามญฺญํ เทติ จะให้ถึงซึ่งผลแห่งสรณะประการ 1 สิริเป็นคุณ 28
ประการด้วยกัน มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ตถาคโต สมเด็จพระทศพล
ญาณระลึกถึงคุณ 28 ประการแห่งฌานนั้นดังนี้แล้ว พระองค์จึงเข้าที่ชมฌาน บรมบพิตรจง
เข้าพระทัยเถิด เถโร ครั้งนั้นพระผู้เป็นเจ้าพระนาคเสน เมื่อพระผู้เป็นเจ้าวิสัชนาแก้ไขใน
คุณฌาน 28 ประการจบลงแล้ว จึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตร พระราชสมภาร
ตถาคต พระตถาคตทศพลญาณเจ้าทั้งหลายใดแต่กาลปางก่อน เสวนฺติ ย่อมส้องเสพชฌาน
ด้วยเหตุ 4 ประการ เหตุ 4 ประการนั้นอย่างไร ขอถวายพระพร สมเด็จพระพุทธเจ้าแต่ปาง
ก่อนนั้น ปฏิสลฺลินํ เสวนฺติ ส้องเสพชมฌาน วิหารผาสุกาย เพื่อจะให้เป็นสุขสบายประการ 1
อนวชฺชคุณพหุลตาย ด้วยภาวะมากแห่งคุณหาโทษมิได้ประการ 1 อวเสสอริยวุฑฺฒิตา เหตุ
ภาวจะได้เจริญขึ้นแห่งพระอริยมรรคอันเหลือลงประการ 1 สพฺพพุทฺธานํ ถุตึ วณฺณิตุํ ปสํสนฺโต
เหตุภาวะเป็นที่สรรเสริญแห่งพระพุทธเจ้าทั้งปวงประการ 1 สิริเป็นเหตุ 4 ประการด้วยกัน นี่
แหละบพิตรพระราชสมภาร ใช่พระตถาคตทศพลญาณเจ้าทั้งหลาย จะขวนขวายชมฌานเพื่อ
จะกระทำกิจอันยังไม่สำเร็จนั้นหามิได้ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถศาสดาจารย์เจ้าทั้งหลาย
ขวนขวายชมฌานดังนี้ ด้วยเหตุที่พระองค์เห็นคุณเห็นประโยชน์ดังถวายพระพรมาฉะนี้

ราชา สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี ได้เสวนการฟังพระนาคเสนวิสัชนาดังนี้ ก็มิ
ได้สงสัย มีพระทัยปราโมทย์ จงมีพระราชโองการตรัสว่าสธุสะ พระผู้เป็นเจ้าโปรดนี้ โยม
ไม่มีวิมัติสงสัย สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับไว้ซึ่งถ้อยคำของพระผู้เป็นเจ้า ก็มีด้วยประการดังนี้
ตถาคตัสส อุตตริกรณียาภาวปัญหา คำรบ 9 จบเพียงนี้

อิทธิปาทพลทัสสนปัญหา ที่ 10


ราชา

สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามอรรถปัญหา
อื่นสืบไปเล่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้เป็นเจ้าผู้ปรีชา ภาสิตํ เจตํ ภควตา
ถ้อยคำดังนี้ สมเด็จพระศรีสุคตทศพลญาณโปรดประทานไว้ว่า อานนฺท ดูกรสำแดงอานนท์
จตฺตาโร อิทฺธิปาทา อันว่าพระอิทธิบาททั้ง 4 ฉนฺทิทฺธิปาโท คือฉันทินธิบาทประการ 1
วิริยิทฺริปาโท คือวิริยิทธิบาทประการ 1 จิตฺติทฺธิปาโท คือจิตติทธิทานประการ 1 วิมํสิทุ-
ธิปาโท
คือวิมังวิทธิบาทประการ 1 สิริเป็น 4 ประการด้วยกัน ภาวิตา แม้พระตถาคตเจริญ
แล้ว พหุลีกตา กระทำให้มากแล้ว ยานีกตา กระทำเป็นยานปิดป้องกำบัง วตฺถุกตา
กระทำเป็นที่นั่งที่นอนที่อาศัย ปริจิตฺตา สั่งสมไว้มั่นในสันดาน อนุฏฺฐิตา ตั้งจิตให้เบิกบานใน
การเพียงที่กระทำมิได้ประมาท สุสมารทฺธา อุตสาหะปรารภจำเริญมิได้ขาดในบริกรรม
ภาวนาเป็นอันดี เมื่อตถาคตจำเริญพระอิทธิบาททั้ง 4 นี้ ตถาคตจะปรารถนาให้มีชนมายุยืน
นานไปกัปหนึ่งก็ได้ ยิ่งกว่ากัปก็ได้ อาศัยด้วยจำเริญซึ่งพระอิทธิบาททั้ง 4 นี้ เหตุดุงฤๅ
สมเด็จพระพิชิตมารญาณมุนี จึงมีพระพุทธฎีกาตรัสอีกเล่าว่า อานนฺท ดูกรสำแดงอานนท์
พระชนมายุของตถาคตนี้ยังมากน้อยไปเท่าไรมี นับแต่วันนี้ไปกำหนดได้สามเดือนเท่านั้น
เราพี่น้องทั้งสองจะไม่ได้เห็นหน้ากัน เมื่อถ้วนกำหนดสามเดือนนั้น ตถาคตจะลาดับขันธ์เข้าสู่
นิพพาน นี้แหละสมเด็จพระอนาวรณญาณยอดบุคคลเป็นที่ล้นพ้นแล้ว ไฉนเล่าพระเจ้าข้า
พระพุทธฎีกาจึงตรัสเป็นสอง ฟังไม่ต้องกัน แม้ว่าจะสำคัญถือเอาเป็นมั่นคงว่า คำที่พระองค์
ตรัสว่า ยังสามเดือนจะเข้าสู่พระนิพพาน คำเดิมที่โปรดประทานไว้ว่าตถาคตจะจำเริญอิทธิบาท
ทั้ง 4 ประการ จะให้มีพระชนม์ยืนนานไปกัปหนึ่งหรือยิ่งกว่ากัป คำนี้ผิดเป็นมิจฉา แม้จะ
ถือเอาคำก่อน ที่ว่าพระองค์เจริญอิทธิบาททั้ง 4 ประการ ให้พระชนมายุยืนนานประมาณ
กัปหนึ่งหรือยิ่งกว่ากัปหนึ่งว่าชอบแล้ว คำที่ตรัสว่าไม่นานดอกอีกสามเดือนจะเข้าสู่พระนิพพาน
ก็จะผิด อยํปิ ปญฺโห อันว่าปริศนานี้ คมฺภีโร ลึกล้ำสุดประมาณ นิปุโณ ละเอียดลออยิ่งนัก